5 ข้อที่ควรทำก่อนพบสรรพากร

498 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 ข้อที่ควรทำก่อนพบสรรพากร

5 ข้อที่ควรทำก่อนพบสรรพากร

  1. ตั้งสติและตรวจสอบให้ดี
    สิ่งสำคัญก็คือตั้งสติ อ่านและตรวจสอบให้ดีว่าจดหมายดังกล่าวระบุถึงเรื่องราวประเด็นใดไว้บ้าง จะตรวจภาษีอะไร ต้องการใช้เอกสารประเภทไหน วันเวลาเป็นอย่างไร นัดหมายเมื่อไหร่ หรือต้องโทรไปนัด ที่เลขหมายไหน เป็นต้น หลายท่านอาจจะตื่นตระหนกจนอ่านข้อความไม่ถี่ถ้วน จนทำให้เตรียมเอกสารผิดพลาดหรือเสียเวลาเตรียมเอกสารมากเกินความจำเป็น


    การเข้ามาตรวจสอบหรือจดหมายที่ส่งมาอาจจะไม่ได้เลวร้ายเสมอไป ด้วยภาษีประเทศไทยนั้น เป็นระบบการประเมินการจ่ายด้วยตัวเอง บางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลได้ ทางสรรพากรจึงขอเข้ามาตรวจแนะนำเพื่อให้ความรู้เท่านั้น

    ที่สำคัญ ควรตรวจสอบให้ดีว่าเป็นจดหมายที่ถูกต้องตามหลักราชการหรือไม่มีผู้ใดเป็นผู้แอบอ้าง หรือเปล่า เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกหลอกลวง อย่าละเลยจดหมายเหล่านี้เด็ดขาด เพราะการพิสูจน์หลักฐานจะเป็นการแสดงเจตนารมณ์อันดีว่ากิจการของเราไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและยอมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่นั่นเอง

  2. เตรียมเอกสารให้พร้อม
    จากประเด็นในข้อแรก เราต้องอ่านเอกสารให้ถี่ถ้วนและตรวจสอบให้ดีว่าต้องการเอกสารอะไรบ้างหลังจากนั้นก็พยายามเตรียมเอกสารไว้พร้อม ตรวจเช็กอย่างรอบคอบ ศึกษาเอกสารเหล่านั้นไว้ให้ดี หากเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้วก็ควรพิจารณาต่อไปอีกสักหน่อยว่าสิ่งใดในเอกสารที่อาจจะเป็นประเด็นหรือถูกซักถาม ก็ควรเตรียมเหตุผลหรือหลักฐานเพิ่มเติมเอาไว้ให้เรียบร้อย แต่พยายามอย่าเตรียมเอกสารไว้มากเกินจำเป็น เพราะบางครั้งเอกสารบางอย่างอาจนำไปสู่ประเด็นอื่น ๆ ที่เราไม่อยากนำเสนอ หรือไม่อยากให้ตรวจสอบก็ได้


  3. แสดงตัวว่าไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
    ไม่ว่าอยู่ในขั้นตอนไหนและไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อาจจะผิดจริงโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ พยายามแสดงเจตจำนงเอาไว้ตลอดว่า ทางบริษัทหรือตัวเจ้าของไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และพร้อมให้ความร่วมในการตรวจสอบอยู่เสมอ และพร้อมที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการตลอดเวลา


  4. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนลงนามอะไร
    หากเกิดประเด็นใดประเด็นหนึ่งขึ้นมา อาจจะเป็นกรณีที่เราผิดจริงหรือไม่ได้ผิดจริง เราก็ควรปรึกษา ผู้ที่มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกฎหมายก่อนลงนาม เพราะถ้าหากลงนามไปแล้ว อาจจะเป็นการยอมรับ สิ่งเหล่านั้นซึ่งอาจจะไม่สามารถแก้ไขได้ในอนาคต และอาจส่งผลเสียในระยะยาวมากกว่าที่คิด


  5. ขอลดเบี้ยปรับ ขอยื่นอุทธรณ์ ผ่อนชำระ
    สำหรับกรณีที่เรามีความผิดจริง ก็ยังพอมีทางออกที่ช่วยเยียวยาได้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นการทำจดหมาย ยื่นคำร้องเพื่อขอลดเบี้ยปรับ จากเหตุผลที่ว่าไม่ได้เจตนารมณ์หลีกเลี่ยงภาษี แต่เป็นเพราะความผิดพลาด ด้านการคำนวณหรือความรู้ด้านกฎหมาย และหากคิดว่าไม่เป็นตามหลักการจริงๆ ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ ได้อีกด้วย หรือท้ายที่สุดหากเบี้ยปรับเป็นจำนวนสูงและเราไม่สามารถผ่อนชำระได้ภายในครั้งเดียว อาจจะเป็นขอผ่อนชำระก็นับว่าเป็นทางออกที่ควรศึกษาไว้เช่นกัน


    ประเด็นเรื่องภาษีและเอกสารนับว่าเป็นประเด็นสำคัญ หลายท่านมักจะมีหลักการประหยัดภาษี แบบถูกกฎหมายหลากหลายหลักการอยู่ เอาเป็นว่าศึกษาให้ดี วางแผนการเงินและภาษีให้รอบคอบ เพราะไม่ว่าจะทำธุรกิจประเภทไหน ไม่ใช่แค่สินค้าหรือบริการ แต่การเงินและภาษีก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องใส่ใจไม่แพ้กัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้